คำว่า "ชา" คนไทยใช้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ซึ่งมีหลักฐานกล่าวถึงการดื่มชา ว่าเริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน ปรากฏหลักฐานชัดเจนคือจาก จดหมายเหตุ โดย ลาลูแบร์ราชฑูตฝรั่งเศส ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พูดถึงการดื่มชาในสยามว่าดื่มเฉพาะในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ถือเป็นมารยาทผู้ดีอันจำเป็นต้องนำน้ำชามาเลี้ยงผู้มาเยี่ยม โดย ชา มาจาก พืชตระกูลคาเมเลีย ไซเนนซิส (Camellia sinensis) ถิ่นกำเนิดอยู่ใน จีน และ อินเดีย ลักษณะต้นเป็นพุ่ม ใบเขียว "ส่วนของต้นชาที่นำมาเป็นเครื่องดื่มจะอยู่ส่วนบนสุดของต้น" ซึ่งเป็น ใบอ่อน เป็นส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุด เครื่องมือในการเก็บใบชาที่ดีที่สุดก็คือ มือของเรานั่นเองค่ะ มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อหลายพันปีมาแล้วคนจีนได้เริ่มดื่มชา โดยมีที่มาจาก จักรพรรดิเสิน-หนง (Emperor Shen Nung) ขณะทรงต้มน้ำร้อนได้มีใบชาปลิวตกลงในหม้อน้ำเดือด ทรงชิมดูพบว่ามีรสชาติดีและมีกลิ่นหอม จากนั้นมาชาก็เป็นที่รู้จักและนิยมดื่มกันทั่วไป ...
“ชา” การสร้างอาชีพ
คนไม่กินกาแฟ..คนกินชาชาสมุนไพรเพื่อสุขภาพชาเอิร์ลเกย์เพื่อมิตรภาพชาจีน..เพื่อสุขภาพชาไทย = ชาเย็นชาไทย มีอยู่ 2 ความหมาย1) ชาที่ผลิตในไทย มีทั้งชาที่ทำจากต้นเมี่ยง (ชาพันธุ์อัสสัม) ที่ขึ้นตามธรรมชาติ และชาที่ทำจากชาพันธุ์จีน โดยมากจะเป็นสายพันธุ์ชาลูกผสมของไต้หวัน และทำตามอย่างเทคนิคการผลิตของไต้หวัน2) ชาที่ออกสีส้มแดงที่ชงจากชาผงที่ทำขึ้นในไทย ชาผงพวกนี้ใช้วัตถุดิบชาซีลอนด้อยคุณภาพ ที่ชงแล้วสีไม่สวย สีเหลืองซีดจาง แล้วนำมาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพโดยการแต่งสี แต่งกลิ่น เป็นชาที่ใช้แพร่หลายทั่วไปในไทยชาไทย ลักษณะสีและกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แปลกต่างไปจากชาอื่น วิธีการชงจะเติมครีมเทียมข้นหวาน และน้ำตาล เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวประเทศไทย จึงเรียกว่าThai tea แล้ว Thai tea จึงถูกแปลงกลับมาเป็นภาษาไทยว่า "ชาไทย" โดยปัจจุบันแต่ละร้านจะมีเทคนิควิธีการชงที่แตกต่างกันหลากหลายเมนู เช่น ชาไทยร้อนกินกับปลาท่องโก๋ ชานมเย็น ชามะนาว ซึ่งจะใส่มะนาว และบางร้านอาจมีการใส่ใบสะระแหน่เพิ่มลงไปด้วย เป็นต้นชา สร้างอาชีพ อะไรบ้างทำไร่ชา นอกจากจะเป็นแหล่งวัตถุดิบชาในประเทศไทยแล้ว ไร่ชายังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจอีกด้วย โดยไร่ชาส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะอยู่ทางตอนเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทยคนรับจ้างเก็บใบชา วิธีเก็บชาที่มีคุณภาพที่สุดก็คือ การใช้มือเก็บ โดยเลือกเก็บเฉพาะยอดอ่อนของใบชา ทำให้ไร่ชายังคงต้องจ้างคนเก็บชาอยู่โรงงานชา ช่างทำชา...
ธุรกิจชา ในประเทศไทย
ชาเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย ที่ภาครัฐส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อทดแทนพืชเสพติดในแหล่งผลิตทางภาคเหนือโดยสามารถทำรายได้มากกว่าปีละประมาณ 500 ล้านบาท ในปี 2013 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชา 21,156 เฮกตาร์ ปริมาณใบชาสดคิดเป็น 77,090 ตัน มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 3.64 ตันต่อเฮกตาร์ ติดอันดับผู้ผลิตชาอันดับที่ 14 ของโลกโดย พื้นที่เพาะปลูกชาจะอยู่ในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ และแม่ฮ่องสอน โดยปลูกชาอัสสัมร้อยละ 84 และชาจีนร้อยละ 16 ปริมาณการบริโภคชาในประเทศไทยคิดเป็น 10 กรัมต่อคนต่อปี ประเทศไทยมีการนำเข้าชาจากประเทศต่างๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น ศรีลังกา และเมียนมาร์แม้ว่าเราจะเห็นเว็บไซต์แฟนเพจต่างก็โปรโมทเรื่องการท่องเที่ยวไร่ชากันเยอะมากขึ้น รวมทั้งแฟรนไชส์ชาจะได้รับกระแสตอบรับจากนักดื่มอย่างมาก คุณเชื่อไหมว่า "ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 46 ในการดื่มชา" โดยประเทศที่ดื่มชามากที่สุดในโลกคือ ตุรกี ไอร์แลนด์ ตามด้วยอังกฤษ เราคงนึกภาพไม่ออกเลยว่าประเทศเหล่านั้นจะดื่มชามากขนาดไหนอธิบดีกรมเจราการค้าระหว่างประเทศ...